การกบฏของเอเธลบาลด์ ของ เอเธล์บาลด์ กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์

เอเธลบาลด์เป็นโอรสที่ยังมีชีวิตอยู่องค์โตของพระเจ้าเอเธลวูล์ฟกับพระมเหสีคนแรก ออสเบอร์ ประสูติราวปีค.ศ.831-834 พระราชมารดาของพระองค์ ออสเบอร์ เป็นบุตรสาวของออสแล็ค พ่อบ้านของพระเจ้าเอเธลวูล์ฟที่ถูกบรรยายได้ว่าเป็นผู้สืบเชื้อสายของพระราชนัดดาชาวจุ๊ทของพระเจ้าเซอร์ดิค สตัฟและไวท์ก้าร์ ผู้พิชิตเกาะไวท์

ในยุค 840 เอเธลบาลด์รับรองกฎบัตรของพระราชบิดาในฐานะโอรสของกษัตริย์ และในปีค.ศ. 850 พระองค์ได้รับพระราชทานตำแหน่งผู้นำท้องถิ่น ในปีค.ศ.855 เมื่อพระเจ้าเอเธลวูล์ฟเสด็จไปโรม เอเธลบาลด์ได้รับมอบหมายให้ดูแลชาวเวสเซ็กซ์ ขณะที่พระอนุชา เอเธลเบิร์ทได้รับการแต่งตั้งเป็นกษัตริย์แห่งเคนต์และดินแดนตะวันออกเฉียงใต้

ในการเสด็จไปจาริกแสวงบุญเป็นระยะเวลา 12 เดือนที่โรมที่พระราชบิดาของพระองค์ พระเจ้าเอเธลวูล์ฟ ได้พาโอรสองค์เล็กองค์โปรด อัลเฟรด ที่พระองค์ประสงค์จะประกาศชื่อเป็นรัชทายาทไปด้วย ในช่วงที่กษัตริย์ไม่อยู่ เวสเซ็กซ์ถูกบริหารราชการโดยสภารัฐมนตรีภายใต้การเป็นผู้นำร่วมกันของเอเธลบาลด์, นักบุญสวิธิน บิชอปแห่งวินเชสเตอร์ และบิชอบเอลสตานแห่งเชอร์บอร์น การขึ้นครองตำแหน่งก่อนกำหนดทำให้เอเธลบาลด์ได้รับการสวมมงกุฎเป็นกษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์ที่คิงสตันเหนือเธมส์ก่อนที่พระราชบิดาของพระองค์จะกลับมา

พระเจ้าเอเธลวูล์ฟกลับมาในปีค.ศ.856 พร้อมกับเจ้าสาวคนใหม่ จูดิธ ธิดาของกษัตริย์ของแฟรงก์ ชาร์ลผู้หัวล้าน แอสเซอร์รายงานว่าช่วงที่เอเธลวูล์ฟไม่อยู่ มีการวางแผนขัดขวางการกลับมาของพระองค์ซึ่งแอบวางแผนการกันที่ฝั่งตะวันตกของเวสเซ็กซ์ทั้งโดยเอเธลบาลด์ หรือโดยเอลสตาน บิชอปแห่งเชอร์บอร์น และเอียนวูล์ฟ ผู้นำทองถิ่นแห่งซัมเมอร์เซ็ต หรืออาจจะทั้งสามคน ขณะที่กษัตริย์ของชาวแฟรงก์เดินหน้าสร้างความปลอดภัยให้กับธิดาของพระองค์ ดูไม่น่าเป็นไปได้ที่พระองค์จะยอมส่งตัวธิดาให้กับประเทศที่มีสงครามกลางเมือง เป็นไปได้มากกว่าว่าเอเธลบาลด์คงก่อการปฏิวัติหลังจากทราบข่าวการอภิเษกสมรสของพระราชบิดากับจูดิธ เนื่องจากเจ้าหญิงชาวแฟรงก์มีเชื้อสายราชวงศ์เป็นของตัวเองและอาจประสูติรัชทายาทที่คู่ควรกับบัลลังก์มากกว่าพระองค์ แอสเซอร์บันทึกไว้ว่าเพื่อหลีกเลี่ยงสงครามกลางเมือง เอเธลวูล์ฟแบ่งอาณาจักรที่เคยเป็นเอกภาพ มอบหมายส่วนฝั่งตะวันตกให้เอเธลบาลด์และเก็บฝั่งตะวันออกไว้กับตัวอง มันถูกเข้าใจว่าหมายความว่าเอเธลบาลด์ได้เวสเซ็กซ์ ขณะที่เอเธลวูลวูล์ฟปลดเอเธลเบิร์ทออกจากตำแหน่งกษัตริย์แห่งเคนต์ แต่เวสเซ็กซ์และฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ที่เพิ่งพิชิตได้ไม่น่าจะเรียกว่าเป็นอาณาจักร "ที่เคยเป็นเอกภาพ" ได้ และผู้สมรู้ร่วมคิดของเอเธลบาลด์มาจากฝั่งตะวันตกของเวสเซ็กซ์ ดังนั้นแอสเซอร์และแหล่งข้อมูลอื่นๆอาจหมายความว่าเอเธลวูล์ฟกลับมาปกครองอาณาจักรของพระองค์ เป็นไปได้มากกว่าว่าเอเธลวูล์ฟคงเก็บเวสเซ็กซ์ตอนกลางและฝั่งตะวันออกไว้ ยอมให้เอเธลบาลด์ปกครองเวสเซ็กซ์ฝั่งตะวันตก การไม่เหรียญในพระนามของเอเธลบาลด์อาจหมายความว่าเหรียญของเวสเซ็กซ์อยู่ในพระนามของเอเธลวูล์ฟไปจนพระองค์สวรรคต